วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ อยู่ที่บ้านหนองซ่งแย้ หมู่ 2 ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร  เป็นโบสถ์ไม้ ของคริสต์ศาสนาที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีอายุถึง 100 ปี โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ มีชื่อเต็มๆ ว่า  “วัดอัครเทวดามีคาแอล”  ที่มีโบสถ์ไม้หลัง ใหญ่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นเป็นสง่า ซึ่งทั้งหมดทำมาจากไม้เนื้อแข็ง ซึ่งชาวบ้านพากันรวบรวมไม้และลงมือก่อสร้างด้วยกัน โดยลงมือ สร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย  โดยใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็งเสาในแถว กลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคน ได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยก ต่างหากจากโบสถ์  จากพลังแห่งศรัทธาอันแรงกล้าของคริสต์ชน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโบสถ์ไม้ขนาดใหญ่ที่สุดนั้น ในปัจจุบัน โบสถ์แห่งนี้สามารถบรรจุคนได้มากกว่า 500 คน โบสถ์แห่งนี้เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ดูเรียบง่ายแต่มีความสงบและงดงาม

ภายในบริเวณวัด ยังมีเรือนไทยอยู่ข้างๆโบสถ์มีความสวยงดงานในปฏิมากรรมแบบไทยเราและล้วนสร้างจากไม้ทั้งหมด และตกแต่ง ต้นไม้สวยงาม ร่มรื่น และยังมีต้นไม้พูดได้ไว้เตือนสติสอนใจหากใครได้มาชมโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่นี่ แล้วละก็จะได้สัมผัสถึงศรัทธา อันแรงกล้าของ พระผู้เป็นเจ้าและชาวบ้านซ่งแย้ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโบสถ์คริสต์ไม้หลังใหญ่ที่สุด หลังนี้ขึ้นนับแต่อดีตกาล มากว่า 100 ปีเลยทีเดียว และถือได้ว่าเป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ และถือเป็นศาสนาสถานที่มีเอกลักษณ์ และมีความสำคัญ ถือเป็นสมบัติอันทรงคุณค่า  ที่นี่จะมีจัดกิจกรรมงานพิธีสมรสหมู่ตามแบบคาทอลิก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ (วันวาเลนไทน์) ของทุกๆปีด้วย โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมความสวยงามแปลกตาของโบสถ์แห่งนี้ ได้ทุกวันไม่มีวันหยุด

ประวัติความเป็นมาโบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

เริ่มจากเมื่อปี พ.ศ. 2451หมู่บ้านหนองซ่งแย้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กลางดงทึบ มีชาวบ้าน 5 ครอบครัวได้อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ ต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นครอบครัวผีปอบและถูกรุมทำร้ายและถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้าน ทั้ง 5 ครอบครัวเดือดร้อนอับจนหนทาง จึงเดินทางไปหาบาทหลวงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า เดชาแนลและ ออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ให้มา ช่วยขับไล่ผีปอบที่สิงอยู่กับตนและครอบครัว จนเหตุการณ์สงบลง ทั้ง 5 ครอบครัวจึงเข้ารีตเป็นคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิค  และในต่อมาหมู่บ้านแห่งนี้จึงกลายเป็นหมู่บ้านประชาคมชาวคริสต์ในปี พ.ศ. 2452  บาทหลวงทั้ง 2   จึงได้สร้างวัดหนองซ่งแย้ขึ้นมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาลาตินว่า “วัดอัครเทวดามิคาแอล”  ซึ่งเป็นชื่อของนักบุญคนสำคัญ โดยมีบาทหลวงเดชาแนลเป็น อธิการโบสถ์คนแรก

การเดินทางโบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

จากตัวจังหวัดยโสธใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 อยู่เลย อำเเภอกุดชุม ซึ่งเป็นแหล่งขายเนื้อวัวและลูกชิ้นที่มีชื่อเสียง ไปประมาณ 7-8 กม. จะเห็นป้ายทางซ้ายมือ และซุ้มประตูทางเข้าอยู่ริมถนน เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 600เมตร ก็จะถึงโบสถ์คริสต์แห่งนี้





แผนที่ 


พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก แลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่โดดเด่นแปลกตาของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน อำเภอเมือง บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สอดแทรกตำนานเรื่องเล่าพื้นเมืองของชาวอีสาน เกี่ยวกับตำนาน พญาคางคกและประเพณีบุญบั้งไฟอันโด่งดัง    ตัวอาคารถูกออกแบบให้เป็นรูปคางคกขนาดยักษ์เป็นอาคารสูง 5 ชั้น หรือประมาณ 19 เมตร พื้นที่ประมาณ 835 ตารางเมตร และนิทรรศการภายในจะบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟ โดยจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเมืองไทยที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด และมีการรวบรวมของดีทางด้านเกษตรกรรม ของเมืองยโสธรไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของจังหวัดยโสธร
นอกจากนี้ข้างพิพิธภัณฑ์มีประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟอันอ่อนช้อยและงดงาม สวนสาธารณะพญาแถนที่บรรยากาศร่มรื่นลมพัด เย็นสบายเหมาะสำหรับมาเดินเล่นพักผ่อนในยามเย็น  รวมถึงพิพิธภัณฑ์พญานาคขนาดใหญ่ ที่เชื่อมต่อกับ สร้างความตื่นตาตื่นใจ ให้แก่ผู้มาชม ภายในมีภาพถ่ายสามมิติสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านให้โพสต์ท่าถ่ายภาพอีกด้วย

ตำนานพญาคันคาก พญานาค พญาแถน

พญาคันคาก พญานาค พญาแถน คือ ตำนานความเชื่อของชาวอีสาน และอีกตำนานหนึ่งก็จะมีตำนาน “ผาแดงนางไอ่” ชาวอีสานจะ ทำบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ถึงปลายเดือนห้าย่างเดือนหก ชาวบ้านก็จะแสดงออกถึงความสามัคคี ร่วมกันทำบั้งไฟจุดขึ้นไป แจ้งพญาแถนเพื่อให้บันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล เพื่อชาวโลกมนุษย์จะใช้น้ำฝนทำนาเป็นไปตามตำนานเล่าสืบทอดกันมา พญาคางคก พญานาค รวมไพร่พลยกทัพขึ้นไปรบชนะพญาแถน และได้ทำสัญญาสงบศึก หากถึงฤดูกาลทำนา โลกมนุษย์จะส่ง สัญญาน แจ้งพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้า และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโลกมนุษย์ก็จะใช้เสียงสนูจากว่าวแจ้งให้พญาแถนทราบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้าน

การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก


จากตัวเมืองยโสธรหน้าสวนธารณะเมืองแถน บนถนนแจ้งสนิท ให้ขับรถตรงไปประมาณ 400  เมตร เลี้ยวขวาตรงสี่แยกถนนห้า ธันวาคม จากนั้นให้ตรงไปผ่านเรือนจำยโสธร ประมาณ 700 เมตร จะถึงสามแยกจะถึงสามแยก จากนั้นเลี้ยวขวาตรงสามแยก และขับรถตรงไปอีก 200 เมตร ให้เลี้ยวขวาอีกครั้ง ตรงไปอีก 150 เมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หากใครไม่คุ้นเคยเส้นทาง อาจใช้ google maps นำทาง




แผนที่่


ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า

ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า 

บ้านสิงห์ท่า  ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นย่านการค้าตั้งแต่สมัยโบราณและได้เจริญขึ้นเมื่อสมัยฝรั่งเศสเข้ามามี อิทธิพลมาก ในภูมิภาคนี้ในช่วงนั้นเองผู้ที่มีฐานะดี มีการนำเข้าช่างฝีมือจากเวียดนามจำนวนมากเข้ามาสร้างบ้านเรือน ทำให้บ้านเรือนมีรูปแบบ ศิลปกรรมแบบจีนผสมยุโรปที่งดงาม ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นบนสองข้างทาง ถนนศรีสุนทร นครทุม อุทัยรามฤทธิ์ และวิทยะธำรง บางแห่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก บอกถึงบรรยากาศของความเป็นอดีต ขณะที่อีกหลายแห่งถูกปล่อยให้รกร้าง ขาดคนอาศัย สร้างเสน่ห์ให้บ้านสิงห์ท่าสวยงามมาจนทุกวันนี้




แผนที่


ศาลเจ้าพ่อหลัก เมืองจังหวัดยโสธร

ศาลเจ้าพ่อหลัก


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยโสธร ตั้งอยู่ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในอดีตของเมืองยโสธร ศาลหลักเมืองแห่งนี้ เป็นที่เลื่อมใสและเคารพนับถือ ของพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีนชาวยโสธรที่อาศัยอยู่ในย่านการค้าแห่งนี้  มีความโดดเด่นในเรื่องของ สถาปัตยกรรม โดยผสมผสานศิลปะของ 3 วัฒนธรรม คือ จีน ไทย ลาว โดยตัวอาคารก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน มีภาพเขียน ฝาผนังหินขัดเป็นลวดลายจีน และมีรูปปั้นมังกรขนาดใหญ่ 2 ตัว อยู่หน้าทางเข้า และมีแท่นบูชาฟ้าดินตามความเชื่อของชาวจีน ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของตัวอาคาร ส่วนหลังคาของอาคารเป็นทรงจั่ว มีช่อฟ้า ใบระกา แบบสถาปัตยกรรมไทย และยอดอาคารมีพระธาตุ แบบสถาปัตยกรรมลาวประดิษฐานอยู่  นอกจาก ความพิเศษของสถาปัตยกรรมแล้ว สิ่งที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ยโสธร มีเสาหลักเมืองถึง 3 เสา  ที่เดียวในประเทศไทย เสาต้นใหญ่ตรงกลางคือเสาหลักเมือง ส่วนเสาที่อยู่ซ้ายขวา คือ ที่สิงสถิตย์ของผี พระละงุมและผีพระละงำ ผู้ปกปักษ์รักษาหลักเมืองแห่งนี้  โดยชาวเมืองยโสธร ได้จัดให้มีการสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองทุกปี โดยมี พิธีสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง และทำพิธีไปส่งเจ้าท่าเจ้าทุ่งหรือเจ้าโต่งทุกๆ ปี มีการแสดงมหรสภ และอุปรากรจีน โดยพิธีสมโภช จะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน และมีพิธีสรงน้ำทุกปีในช่วงเดือน 5 ตามที่ทางเทศบาลกำหนดตลอดมาจนปัจจุบันนี้



แผนที่

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

ภาคอีสาน

ภาคอีสาน

              ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี  บึงกาฬ 
              มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศ ทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชีและลำตะคอง   ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตรยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตรส่วนตอนกลางของภาคมีเทือกเขาภูพานทอดตัวจากเหนือลงสู่ทิศใต้ แบ่งภาคอีสานออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งโคราช คือ บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด แอ่งสกลนคร คือบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง แม้ว่าชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงโคราชนี้ จะประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยอีสาน ลาว เวียดนาม(ญวน) เขมร ส่วย (กุย) แสก ย้อ ผู้ไทย กะโส้ (โซ่) รวมทั้งไทยโคราช ซึ่งแต่ละเผ่ามีความแตกต่างกันทั้งทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรมประเพณี  วิถีการดำเนินชีวิต  แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณี ที่เรียกว่า “ฮีตบ้านคองเมือง” และ “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” สอนให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมสังคมและ งานบุญงานกุศลเป็นประจำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนต่างๆ เหล่านี้มีความสงบสุขตลอดมาตราบถึงปัจจุบัน   
            ด้วยอุปนิสัยขยันขันแข็ง และสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใสอ่อนโยน และเวลาที่ว่างจากการทำนา จึงคิดค้นสร้าง สรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ  เช่น ผ้าไหมลายสวย ผ้าฝ้ายทอมือที่นับวันจะหายาก  ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา  เดิมผลิตเพื่อใช้เองในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนระหว่างกันในชุมชน   ต่อมาผลิตได้เป็นจำนวนมากจึงนำออกจำหน่ายสร้างรายได้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง   ความอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงามบนยอดเขาสูงหลายแห่ง แหล่งรวมอารยธรรมโบราณนับพันปี ที่ทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย และความมีน้ำใจของชาวอีสาน ยังคงเป็นเสน่ห์ที่มัดใจ ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนภาคอีสานอย่างต่อเนื่ง
อาณาเขต
          ทิศเหนือ – ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
          ทิศตะวันออก – ติดแม่น้ำโขง  ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
          ทิศใต้ – ติดประเทศกัมพูชาโดยมีเทือเขาพนมดงรักกั้นเขตแดน
          ทิศตะวันตก – ติดภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือ 
การแบ่งเขตการปกครอง
           ภาคอีสานตอนบน :  กาฬสินธ์, ขอนแก่น, นครพนม, มหาสารคาม, มุกดาหาร, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, เลย, บึงกาฬ
            ภาคอีสานตอนล่าง : ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี 
(แบ่งตามที่ตั้ง ภาคอีสานตอนบนตั้งอยู่บนแอ่งสกลนคร  ส่วนภาคอีสานตอนล่างตั้งอยู่บนแอ่งโคราช)
ประชากร
              ด้วยความที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดพื้นที่มากที่สุดประเทศไทย  ทำให้มีประชากรมากที่สุดและมีความหลากหลายทางด้านกลุ่มชาติพันธุ์ประชากรด้วย   ประชากรกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคคือ  ชาวไทยอีสาน   ซึ่งก็คือประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานและใช้ภาษาไทยอีสานเป็นภาษาพูดหลัก  นอกจากนี้ก็จะมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆอีกมากมาย เช่น ชาวภูไท ไทโซ่  กระเลิ้ง  แสก  กุลา  ญวน(คือ ชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม) ลาว ฯลฯ  กลุ่มคนเหล่านี้จะมีภาษาพูดเป็นของตนเอง  แต่สามารถสื่อสารภาษาไทยอีสานได้(เดิมพูดภาษาไทยอีสานได้เป็นบางคนเท่านั้น)  และในปัจจุบันประชากรของเผ่าต่างๆก้ยังสามารถพูดภาษาไทยกลางได้อีกด้วย


จังหวัดกาฬสินธ์
จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดเลย
จังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดหนองคาย

จังหวัดหนองบัวลำภู

จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอุดรธานี

 จังหวัดยโสธร

จังหวัดอุบลราชธานี











กำลังปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

จังหวัดยโสธร


จังหวัดยโสธร

คำขวัญ 

ยโสธรเมืองบั้งไฟโก้  แต่งโมหวาน  หมอนขวานผ้าขิด   แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร

1.ความเป็นมา
เมืองยโสธร เป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า 200 ปี ยโสธรมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภูนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้ว บัวบาน และเกี่ยวพันกับเมืองอุบลฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จากยุคประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ชุมชนโบราณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุ่งราบโล่งหรือบริเวณขอบชายทุ่ง ติดกับพื้นที่โคกและป่า ได้แก่ ชุมชนโบราณชายขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ในเขตอำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง เช่น ชุมชนโบราณที่บ้านหัวเมือง บ้านคูเมือง บ้านคูสองชั้น ในเขตอำเภอมหาชนะชัย ชุมชนโบราณบ้านน้ำอ้อม บ้านโพนแพง บ้านหมากมาย บ้านแข้ บ้านโพนเมือง ในเขตอำเภอค้อวัง ประมาณปี พ.ศ.2314 พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจ เจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกันพระเจ้าศิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์ มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง 2 ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำเจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสู ผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่าค่ายบ้านดู่บ้านแก
            พ.ศ. 2354 เจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
            พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า เมืองยศสุนทร ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า พระสุนทรราชวงศา เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร คำว่า ยศสุนทร ต่อมากลายเป็น ยะโสธร มีความหมาย ว่า ทรงไว้ซึ่งยศ แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า ยะโส ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. 2500 – 2513) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น “ยโสธร” และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมืองยโสธรก็ได้รับเกณฑ์เข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วยได้ชัยชนะ ได้รับพระราชทานเชลยเมืองเวียงจันทน์ 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองหนึ่งกระบอกชื่อว่า ปืนนางป้อง ยังปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระสุนทรราชวงศาเห็นได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้นำศิลาจากบ้านแก้งหินโงมมาสร้างพระพุทธบาทจำลอง แล้วสร้าง วัดป่าอัมพวัน และวัดกลางศรีไตรภูมิไว้เป็นวัดคู่เมือง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดศึกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองหนองคาย เมืองยโสธรถูกเกณฑ์ให้ยกกำลังไปสมทบ กองทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็นจำนวน 500 คน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2426 พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เมืองยโสธรได้รับเกณฑ์ให้เอากำลังช้างม้าโคต่าง ๆ ไปเป็นพาหนะบรรทุกเสบียงไปเลี้ยงกองทัพ พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า กอง สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ  มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง 12 หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
            ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยกกำลังจากเมืองญวนมาตีเมืองสมโบกของไทย เมืองยโสธรได้ถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยรักษาเขตแดน โดยนำกำลังไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพ ฯ สามกองทัพ กองทัพละ 1,000 คน
            พ.ศ. 2443 ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
            ในปี พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมยโสธร เป็นอำเภอยโสธร เมืองยโสธร จึงลดฐานะจากเมืองมาเป็นอำเภอ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

            พ.ศ. 2494 กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว และ ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย

2 ลักษณะทางกายภาพ

      2.1 ที่ตั้ง
             จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 531 กิโลเมตร  (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1, 2, 202) และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ)


แผนที่จังหวัดยโสธร




     2.2  ขนาดพื้นที่
             จังหวัดยโสธร มีพื้นที่ 4,161.444 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,600,902.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของพื้นที่ทั่วประเทศ (321 ล้านไร่) และคิดเป็นร้อยละ 12.89 ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร)


ตารางข้อมูลแต่ละอำเภอ
ที่ อำเภอ พื้นที่ ระยะทาง
ไร่ ตร.กม.
1 เมืองยโสธร 361,375 578.200 -
2 เลิงนกทา 589,250 942.800 69
3 คำเขื่อนแก้ว 399,000 638.400 23
4 มหาชนะชัย 284,542.5 455.268 41
5 กุดชุม 340,000 544.000 37
6 ป่าติ้ว 192,500 308.000 28
7 ค้อวัง 93,750 150.000 70
8 ทรายมูล 170,485 272.776 18
9 ไทยเจริญ 170,000 272.000 50
รวม 2,600,902.5 4,161.444

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร



 วัดล้านขวด
 วัดพระพุทธบาทยโสธร
 ภูถ้ำพระ
 พระธาตุก่องข้าวน้อย
 พระธาตุอานนท์
 หอไตรวัดมหาธาตุ
 พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

เทศกาลและงานประเพณี