วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วัดล้านขวด (วัดลาดเก่า)











วัดล้านขวด (วัดลาดเก่า)

มื่อปี พ.ศ. 2542 หลวงปู่หลอด ถิรคุโน(พระครูวิเวกธรรมมาจารย์) เจ้าอาวาสวัดป่ามหาเจดีย์แก้ว อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษและพระอาจารย์สุดใจ ปญญาโภ อดีตเจ้าสำนักวัดลาดเก่าได้ลงมือก่อสร้างอุโบสทกลางน้ำและหลวงปู่หลอดได้พา คณะพระเณรจากวัดป่ามหาเจดีย์แก้วมาช่วยสร้างและคณะญาติโยมบ้านลาดเก่าทุกคน ช่วยกันก่อสร้าง โดยนำขวดแก้วมาประดับที่อาคารซึ่งได้ขวดมาจากคณะศรัทธาญาติโยมนำมาถวายจาก หลายที่ด้วยกันและสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2547 ทำพิธีฉลองอุโบสถเมื่อวันที่ 11-16 เมษายน พ.ศ. 2549 อุโบสถหลังนี้นอกจากสถาปัตยกรรมล้านขวด ยังมีพระคู่บ้านคู่เมืองที่ประดิษฐ์ฐานประชาชนได้กราบไหว้บูชาเพื่อศิริมงคล ในชีวิตคือ พระพุทธศิลาจารย์ปาง ศรีวิชัยสมัยล้านช้าง อายุประมาณ 1,330 ปี มีประวัติความเป็นมาว่าหลวงปู่หลอดท่านนิมิต ได้อยู่ที่วัดก่อไผ่ ตอนท่านได้ปักกลตอยู่ที่นั้นว่าพระพุทธศิลาจารย์ ท่านอยากมาอยู่กับหลวงปู่หลอดด้วย ท่านจึงได้ให้ญาติโยมขุดขึ้นมาจากใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และอันเชิญมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดลาดเก่าแห่งนี้ และเคยมีท่านพระครูญาณโพธิ์ เลขาฯ พระเทพสังวรญาณ รองเจ้าคณะภาพค 10 ได้อันเชิญท่านไปประดิษฐ์ฐานไว้ที่สำนักงานเลขาฯ ของท่านที่วัดศรีธรรมมาราม และปรากฎว่าท่านไม่อยากอยู่ที่นั้น จังได้ไปเข้านิมิตหลวงปู่หลอดที่ศรีสะเกษ ให้พาท่านกลับมาอยู่ที่วัดลาดเก่าเหมือเดิม
หลวงปู่จังได้พาคณะญาติโยมไปอันเชิญมาประดิษฐ์ฐานไว้ที่เดิมจนถึงทุก วันนี้ และเคยมีปาฎิหาริย์แสดงให้เห็นหลายครั้ง บางทีจะมีแสงเปล่งรัศมีออกจากอุโบสถในกลางพรรษา และบางทีพัดลมในอุโบสถก็ติดเองคล้ายมีคนเปิดเรียงกันไป 1-3 ตัว สร้างความฉงนใจและเป็นปริศนาคาใจให้แก่คณะญาติโยมและเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

แผนที่

วัดพระพุทธบาทยโสธร





 วัดพระพุทธบาทยโสธร

วัดพระพุทธบาทยโสธร ตั้งอยู่ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูง บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ 269 ไร่ ตั้งอยู่บนเนินทรายริมฝั่งแม่น้ำชี ตำบลหัวเมืองงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชีนับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของ จังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูง 1 เมตร กว้าง 50 เซ็นติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1378 นอกจากนั้นก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียงไปนมัสการเป็นจำนวนมากภายในวัดแบ่ง พื้นที่เป็นเขตโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งโบราณสถานและโบราณวัตถุยังคงสภาพให้เห็นจนถึงปัจจุบัน คือ รอยพระพุทธบาท  พระพุทธรูปปางนาคปรก และศิลาจารึก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์วัดพระพุทธบาทยโสธร สูง 45 เมตร มี 3 ชั้น ชั้นที่ 1 จัดแสดงศิลปหัตถกรรมเครื่องใช้ของคนภาคอีสานในอดีต และเป็นห้องสมุดสำหรับค้นคว้าพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก ชั้นที่ 2 เป็นที่แสดงหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนบูรพาจารย์ จำนวน 8 องค์ ส่วนชั้นที่ 3 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุประดิษฐานในบุษบกแกะสลักสีทอง และในอุโบสถวัดพระพุทธบาทยโสธร ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย



แผนที่

ภูถ้ำพระ พระพุทธรูปในถ้ำ ยโสธร


ภูถ้ำพระ พระพุทธรูปในถ้ำ ยโสธร

ภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกุดแห่  หรือกุดแห ตำบลกุดเชียงหมี ห่างจากอำเภอเลิงนกทา 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 และห่างจากอำเภอเมือง 85 กิโลเมตร ที่เรียกว่า “ภูถ้ำพระ”

เนื่องจากมีพระ พุทธรูปอยู่ในถ้ำจำนวนมาก ถ้ำพระนี้เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหินเป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือสามารถเดินลอดไปได้ บนภูเขาลูกนี้นอกจากจะมีบรรยากาศร่มเย็นและร่มรื่นไปด้วยป่าไม้หนาทึบแล้ว บริเวณโดยรอบยังมีถ้ำอื่น ๆ อีก อาทิ ถ้ำเค็ง ถ้ำงูซวง ถ้ำเกลี้ยง และถ้ำพรหมบุตร





พระธาตุก่องข้าวน้อย ยโสธร




พระธาตุก่องข้าวน้อย ยโสธร 

ประวัติความเป็นมา

        พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
พระธาตุก่องข้าว น้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5?5 เมตร
       นอกจากนี้บริเวณ ด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น

        พระธาตุก่องข้าวน้อย มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะ น้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่ บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง

แผนที่

หอไตรวัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร








หอไตรวัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร

วัดมหาธาตุ ตั้ง อยู่ในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบุษยรัตน์หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก

หอไตร 

เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 




แผนที่

พระธาตุพระอานนท์ จังหวัดยโสธร



 พระธาตุพระอานนท์ จังหวัดยโสธร

พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ตั้ง อยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราวพ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา   ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้

ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยและทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภช พระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม


แผนที่