แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ยโสธร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ยโสธร แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก ชาวอำเภอมหาชนะชัยมีความเชื่อเรื่องใช้ข้าวถวายเป็นพุทธบูชาอยู่แล้ว เป็นประเพณีที่เกิดจากการแพร่กระจายของการใช้ข้าวเป็นเครื่องบูชา ได้จัดประเพณีการแห่มาลัยขึ้นเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชน ปรับเปลี่ยนมาจนเป็นมาลัยที่ใช้แขวนเป็นเครื่องบูชานั้นได้เกิดกระบวนการสั่งสมประสมการและภูมิปัญญา ตลอดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมซึ่งมีคติในพิธีกรรม ที่มาที่แฝงเร้นในการจัดพิธีกรรมการแห่ข้าวดอก โดยจะมีชุมชนที่เข้าร่วมจัดทำเป็นมาลัยขนาดใหญ่เพื่อเป็นตัวแทนชุมชนเข้าร่วมการประกวด ชุมชนที่เข้าร่วมในการแห่มาลัยมากที่สุดคือ  หมู่  2  หมู่ 4 และหมู่ 8  ตำบลฟ้าหยาด  ในตำบลอื่นก็มีทำบ้างแต่ไม่มากนัก



พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้

พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้

พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้ (วัดอัครเทวดามิคาแอล)  ในช่วงวันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์  ของทุกปี) ที่โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จะจัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาวที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยการจัดพิธีดังกล่าวจัดขึ้นอย่างสมเกียรติของคู่บ่าวสาวและแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน มีขบวนแห่ขันหมาก พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณพิธีสมรสแบบคาทอลิก พิธีอวยพร  และการแสดงศิลปวัฒนธรรมเพื่อแสดงความยินดีกับคู่สมรส

ประเพณีบุญบั้งไฟ (Bang Fai Rocket Festival - Phaya Thaen Park)


ประเพณีบุญบั้งไฟ (Bang Fai Rocket Festival - Phaya Thaen Park)



มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถนโดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง เล่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆแต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณีบั้งไฟ ที่จัดทำมีหลายชนิด คือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 120 กิโลกรัมเมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกันในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา






วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก แลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่โดดเด่นแปลกตาของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน อำเภอเมือง บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สอดแทรกตำนานเรื่องเล่าพื้นเมืองของชาวอีสาน เกี่ยวกับตำนาน พญาคางคกและประเพณีบุญบั้งไฟอันโด่งดัง    ตัวอาคารถูกออกแบบให้เป็นรูปคางคกขนาดยักษ์เป็นอาคารสูง 5 ชั้น หรือประมาณ 19 เมตร พื้นที่ประมาณ 835 ตารางเมตร และนิทรรศการภายในจะบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟ โดยจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเมืองไทยที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด และมีการรวบรวมของดีทางด้านเกษตรกรรม ของเมืองยโสธรไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของจังหวัดยโสธร
นอกจากนี้ข้างพิพิธภัณฑ์มีประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟอันอ่อนช้อยและงดงาม สวนสาธารณะพญาแถนที่บรรยากาศร่มรื่นลมพัด เย็นสบายเหมาะสำหรับมาเดินเล่นพักผ่อนในยามเย็น  รวมถึงพิพิธภัณฑ์พญานาคขนาดใหญ่ ที่เชื่อมต่อกับ สร้างความตื่นตาตื่นใจ ให้แก่ผู้มาชม ภายในมีภาพถ่ายสามมิติสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านให้โพสต์ท่าถ่ายภาพอีกด้วย

ตำนานพญาคันคาก พญานาค พญาแถน

พญาคันคาก พญานาค พญาแถน คือ ตำนานความเชื่อของชาวอีสาน และอีกตำนานหนึ่งก็จะมีตำนาน “ผาแดงนางไอ่” ชาวอีสานจะ ทำบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ถึงปลายเดือนห้าย่างเดือนหก ชาวบ้านก็จะแสดงออกถึงความสามัคคี ร่วมกันทำบั้งไฟจุดขึ้นไป แจ้งพญาแถนเพื่อให้บันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล เพื่อชาวโลกมนุษย์จะใช้น้ำฝนทำนาเป็นไปตามตำนานเล่าสืบทอดกันมา พญาคางคก พญานาค รวมไพร่พลยกทัพขึ้นไปรบชนะพญาแถน และได้ทำสัญญาสงบศึก หากถึงฤดูกาลทำนา โลกมนุษย์จะส่ง สัญญาน แจ้งพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้า และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโลกมนุษย์ก็จะใช้เสียงสนูจากว่าวแจ้งให้พญาแถนทราบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้าน

การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก


จากตัวเมืองยโสธรหน้าสวนธารณะเมืองแถน บนถนนแจ้งสนิท ให้ขับรถตรงไปประมาณ 400  เมตร เลี้ยวขวาตรงสี่แยกถนนห้า ธันวาคม จากนั้นให้ตรงไปผ่านเรือนจำยโสธร ประมาณ 700 เมตร จะถึงสามแยกจะถึงสามแยก จากนั้นเลี้ยวขวาตรงสามแยก และขับรถตรงไปอีก 200 เมตร ให้เลี้ยวขวาอีกครั้ง ตรงไปอีก 150 เมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หากใครไม่คุ้นเคยเส้นทาง อาจใช้ google maps นำทาง




แผนที่่


ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า

ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า 

บ้านสิงห์ท่า  ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นย่านการค้าตั้งแต่สมัยโบราณและได้เจริญขึ้นเมื่อสมัยฝรั่งเศสเข้ามามี อิทธิพลมาก ในภูมิภาคนี้ในช่วงนั้นเองผู้ที่มีฐานะดี มีการนำเข้าช่างฝีมือจากเวียดนามจำนวนมากเข้ามาสร้างบ้านเรือน ทำให้บ้านเรือนมีรูปแบบ ศิลปกรรมแบบจีนผสมยุโรปที่งดงาม ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นบนสองข้างทาง ถนนศรีสุนทร นครทุม อุทัยรามฤทธิ์ และวิทยะธำรง บางแห่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก บอกถึงบรรยากาศของความเป็นอดีต ขณะที่อีกหลายแห่งถูกปล่อยให้รกร้าง ขาดคนอาศัย สร้างเสน่ห์ให้บ้านสิงห์ท่าสวยงามมาจนทุกวันนี้




แผนที่


ศาลเจ้าพ่อหลัก เมืองจังหวัดยโสธร

ศาลเจ้าพ่อหลัก


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยโสธร ตั้งอยู่ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในอดีตของเมืองยโสธร ศาลหลักเมืองแห่งนี้ เป็นที่เลื่อมใสและเคารพนับถือ ของพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีนชาวยโสธรที่อาศัยอยู่ในย่านการค้าแห่งนี้  มีความโดดเด่นในเรื่องของ สถาปัตยกรรม โดยผสมผสานศิลปะของ 3 วัฒนธรรม คือ จีน ไทย ลาว โดยตัวอาคารก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน มีภาพเขียน ฝาผนังหินขัดเป็นลวดลายจีน และมีรูปปั้นมังกรขนาดใหญ่ 2 ตัว อยู่หน้าทางเข้า และมีแท่นบูชาฟ้าดินตามความเชื่อของชาวจีน ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของตัวอาคาร ส่วนหลังคาของอาคารเป็นทรงจั่ว มีช่อฟ้า ใบระกา แบบสถาปัตยกรรมไทย และยอดอาคารมีพระธาตุ แบบสถาปัตยกรรมลาวประดิษฐานอยู่  นอกจาก ความพิเศษของสถาปัตยกรรมแล้ว สิ่งที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ยโสธร มีเสาหลักเมืองถึง 3 เสา  ที่เดียวในประเทศไทย เสาต้นใหญ่ตรงกลางคือเสาหลักเมือง ส่วนเสาที่อยู่ซ้ายขวา คือ ที่สิงสถิตย์ของผี พระละงุมและผีพระละงำ ผู้ปกปักษ์รักษาหลักเมืองแห่งนี้  โดยชาวเมืองยโสธร ได้จัดให้มีการสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองทุกปี โดยมี พิธีสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง และทำพิธีไปส่งเจ้าท่าเจ้าทุ่งหรือเจ้าโต่งทุกๆ ปี มีการแสดงมหรสภ และอุปรากรจีน โดยพิธีสมโภช จะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน และมีพิธีสรงน้ำทุกปีในช่วงเดือน 5 ตามที่ทางเทศบาลกำหนดตลอดมาจนปัจจุบันนี้



แผนที่

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

จังหวัดยโสธร


จังหวัดยโสธร

คำขวัญ 

ยโสธรเมืองบั้งไฟโก้  แต่งโมหวาน  หมอนขวานผ้าขิด   แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร

1.ความเป็นมา
เมืองยโสธร เป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า 200 ปี ยโสธรมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภูนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้ว บัวบาน และเกี่ยวพันกับเมืองอุบลฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จากยุคประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ชุมชนโบราณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุ่งราบโล่งหรือบริเวณขอบชายทุ่ง ติดกับพื้นที่โคกและป่า ได้แก่ ชุมชนโบราณชายขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ในเขตอำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง เช่น ชุมชนโบราณที่บ้านหัวเมือง บ้านคูเมือง บ้านคูสองชั้น ในเขตอำเภอมหาชนะชัย ชุมชนโบราณบ้านน้ำอ้อม บ้านโพนแพง บ้านหมากมาย บ้านแข้ บ้านโพนเมือง ในเขตอำเภอค้อวัง ประมาณปี พ.ศ.2314 พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจ เจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกันพระเจ้าศิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์ มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง 2 ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำเจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสู ผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่าค่ายบ้านดู่บ้านแก
            พ.ศ. 2354 เจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
            พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า เมืองยศสุนทร ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า พระสุนทรราชวงศา เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร คำว่า ยศสุนทร ต่อมากลายเป็น ยะโสธร มีความหมาย ว่า ทรงไว้ซึ่งยศ แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า ยะโส ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. 2500 – 2513) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น “ยโสธร” และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมืองยโสธรก็ได้รับเกณฑ์เข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วยได้ชัยชนะ ได้รับพระราชทานเชลยเมืองเวียงจันทน์ 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองหนึ่งกระบอกชื่อว่า ปืนนางป้อง ยังปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระสุนทรราชวงศาเห็นได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้นำศิลาจากบ้านแก้งหินโงมมาสร้างพระพุทธบาทจำลอง แล้วสร้าง วัดป่าอัมพวัน และวัดกลางศรีไตรภูมิไว้เป็นวัดคู่เมือง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดศึกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองหนองคาย เมืองยโสธรถูกเกณฑ์ให้ยกกำลังไปสมทบ กองทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็นจำนวน 500 คน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2426 พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เมืองยโสธรได้รับเกณฑ์ให้เอากำลังช้างม้าโคต่าง ๆ ไปเป็นพาหนะบรรทุกเสบียงไปเลี้ยงกองทัพ พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า กอง สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ  มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง 12 หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
            ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยกกำลังจากเมืองญวนมาตีเมืองสมโบกของไทย เมืองยโสธรได้ถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยรักษาเขตแดน โดยนำกำลังไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพ ฯ สามกองทัพ กองทัพละ 1,000 คน
            พ.ศ. 2443 ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
            ในปี พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมยโสธร เป็นอำเภอยโสธร เมืองยโสธร จึงลดฐานะจากเมืองมาเป็นอำเภอ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

            พ.ศ. 2494 กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว และ ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย

2 ลักษณะทางกายภาพ

      2.1 ที่ตั้ง
             จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 531 กิโลเมตร  (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1, 2, 202) และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ)


แผนที่จังหวัดยโสธร




     2.2  ขนาดพื้นที่
             จังหวัดยโสธร มีพื้นที่ 4,161.444 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,600,902.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของพื้นที่ทั่วประเทศ (321 ล้านไร่) และคิดเป็นร้อยละ 12.89 ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร)


ตารางข้อมูลแต่ละอำเภอ
ที่ อำเภอ พื้นที่ ระยะทาง
ไร่ ตร.กม.
1 เมืองยโสธร 361,375 578.200 -
2 เลิงนกทา 589,250 942.800 69
3 คำเขื่อนแก้ว 399,000 638.400 23
4 มหาชนะชัย 284,542.5 455.268 41
5 กุดชุม 340,000 544.000 37
6 ป่าติ้ว 192,500 308.000 28
7 ค้อวัง 93,750 150.000 70
8 ทรายมูล 170,485 272.776 18
9 ไทยเจริญ 170,000 272.000 50
รวม 2,600,902.5 4,161.444

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร



 วัดล้านขวด
 วัดพระพุทธบาทยโสธร
 ภูถ้ำพระ
 พระธาตุก่องข้าวน้อย
 พระธาตุอานนท์
 หอไตรวัดมหาธาตุ
 พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

เทศกาลและงานประเพณี

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วัดล้านขวด (วัดลาดเก่า)











วัดล้านขวด (วัดลาดเก่า)

มื่อปี พ.ศ. 2542 หลวงปู่หลอด ถิรคุโน(พระครูวิเวกธรรมมาจารย์) เจ้าอาวาสวัดป่ามหาเจดีย์แก้ว อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษและพระอาจารย์สุดใจ ปญญาโภ อดีตเจ้าสำนักวัดลาดเก่าได้ลงมือก่อสร้างอุโบสทกลางน้ำและหลวงปู่หลอดได้พา คณะพระเณรจากวัดป่ามหาเจดีย์แก้วมาช่วยสร้างและคณะญาติโยมบ้านลาดเก่าทุกคน ช่วยกันก่อสร้าง โดยนำขวดแก้วมาประดับที่อาคารซึ่งได้ขวดมาจากคณะศรัทธาญาติโยมนำมาถวายจาก หลายที่ด้วยกันและสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2547 ทำพิธีฉลองอุโบสถเมื่อวันที่ 11-16 เมษายน พ.ศ. 2549 อุโบสถหลังนี้นอกจากสถาปัตยกรรมล้านขวด ยังมีพระคู่บ้านคู่เมืองที่ประดิษฐ์ฐานประชาชนได้กราบไหว้บูชาเพื่อศิริมงคล ในชีวิตคือ พระพุทธศิลาจารย์ปาง ศรีวิชัยสมัยล้านช้าง อายุประมาณ 1,330 ปี มีประวัติความเป็นมาว่าหลวงปู่หลอดท่านนิมิต ได้อยู่ที่วัดก่อไผ่ ตอนท่านได้ปักกลตอยู่ที่นั้นว่าพระพุทธศิลาจารย์ ท่านอยากมาอยู่กับหลวงปู่หลอดด้วย ท่านจึงได้ให้ญาติโยมขุดขึ้นมาจากใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และอันเชิญมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดลาดเก่าแห่งนี้ และเคยมีท่านพระครูญาณโพธิ์ เลขาฯ พระเทพสังวรญาณ รองเจ้าคณะภาพค 10 ได้อันเชิญท่านไปประดิษฐ์ฐานไว้ที่สำนักงานเลขาฯ ของท่านที่วัดศรีธรรมมาราม และปรากฎว่าท่านไม่อยากอยู่ที่นั้น จังได้ไปเข้านิมิตหลวงปู่หลอดที่ศรีสะเกษ ให้พาท่านกลับมาอยู่ที่วัดลาดเก่าเหมือเดิม
หลวงปู่จังได้พาคณะญาติโยมไปอันเชิญมาประดิษฐ์ฐานไว้ที่เดิมจนถึงทุก วันนี้ และเคยมีปาฎิหาริย์แสดงให้เห็นหลายครั้ง บางทีจะมีแสงเปล่งรัศมีออกจากอุโบสถในกลางพรรษา และบางทีพัดลมในอุโบสถก็ติดเองคล้ายมีคนเปิดเรียงกันไป 1-3 ตัว สร้างความฉงนใจและเป็นปริศนาคาใจให้แก่คณะญาติโยมและเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

แผนที่

วัดพระพุทธบาทยโสธร





 วัดพระพุทธบาทยโสธร

วัดพระพุทธบาทยโสธร ตั้งอยู่ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูง บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ 269 ไร่ ตั้งอยู่บนเนินทรายริมฝั่งแม่น้ำชี ตำบลหัวเมืองงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชีนับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของ จังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูง 1 เมตร กว้าง 50 เซ็นติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1378 นอกจากนั้นก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียงไปนมัสการเป็นจำนวนมากภายในวัดแบ่ง พื้นที่เป็นเขตโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งโบราณสถานและโบราณวัตถุยังคงสภาพให้เห็นจนถึงปัจจุบัน คือ รอยพระพุทธบาท  พระพุทธรูปปางนาคปรก และศิลาจารึก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์วัดพระพุทธบาทยโสธร สูง 45 เมตร มี 3 ชั้น ชั้นที่ 1 จัดแสดงศิลปหัตถกรรมเครื่องใช้ของคนภาคอีสานในอดีต และเป็นห้องสมุดสำหรับค้นคว้าพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก ชั้นที่ 2 เป็นที่แสดงหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนบูรพาจารย์ จำนวน 8 องค์ ส่วนชั้นที่ 3 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุประดิษฐานในบุษบกแกะสลักสีทอง และในอุโบสถวัดพระพุทธบาทยโสธร ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย



แผนที่

ภูถ้ำพระ พระพุทธรูปในถ้ำ ยโสธร


ภูถ้ำพระ พระพุทธรูปในถ้ำ ยโสธร

ภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกุดแห่  หรือกุดแห ตำบลกุดเชียงหมี ห่างจากอำเภอเลิงนกทา 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 และห่างจากอำเภอเมือง 85 กิโลเมตร ที่เรียกว่า “ภูถ้ำพระ”

เนื่องจากมีพระ พุทธรูปอยู่ในถ้ำจำนวนมาก ถ้ำพระนี้เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหินเป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือสามารถเดินลอดไปได้ บนภูเขาลูกนี้นอกจากจะมีบรรยากาศร่มเย็นและร่มรื่นไปด้วยป่าไม้หนาทึบแล้ว บริเวณโดยรอบยังมีถ้ำอื่น ๆ อีก อาทิ ถ้ำเค็ง ถ้ำงูซวง ถ้ำเกลี้ยง และถ้ำพรหมบุตร





พระธาตุก่องข้าวน้อย ยโสธร




พระธาตุก่องข้าวน้อย ยโสธร 

ประวัติความเป็นมา

        พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
พระธาตุก่องข้าว น้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5?5 เมตร
       นอกจากนี้บริเวณ ด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น

        พระธาตุก่องข้าวน้อย มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะ น้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่ บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง

แผนที่

หอไตรวัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร








หอไตรวัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร

วัดมหาธาตุ ตั้ง อยู่ในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบุษยรัตน์หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก

หอไตร 

เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 




แผนที่

พระธาตุพระอานนท์ จังหวัดยโสธร



 พระธาตุพระอานนท์ จังหวัดยโสธร

พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ตั้ง อยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราวพ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา   ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้

ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยและทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภช พระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม


แผนที่