วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562

สามพันโบก


สามพันโบก เป็นแก่งหินหรือกุมภลักษณ์ที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง จนชาวบ้านเรียกว่า แกรนแคนยอนน้ำโขง ซึ่งจะปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม - พฤษภาคม ซึ่งหลังจากนั้นจะมีน้ำหลากมาท่วมโบกเหล่านั้นจมหายไปอยู่ใต้แม่น้ำ

ทางเข้าสามพันโบก จะมีหินลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่ากันว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมือง เป็นผู้เรืองอำนาจ ประทับใจความสวยงามของสามพันโบก จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัขเฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติ จึงเกิดความโลภกลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตาย ส่วนบางตำนานเล่าว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุด เพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายสุนัขเป็นผู้เฝ้าทางเข้าระหว่างการขุด กระทั่งสุนัขได้ตายลง จึงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด



แผนที่


วัดหนองบัว อุบลราชธานี


วัดหนองบัว ชาวอุบลนิยมเรียก วัดพระธาตุหนองบัว เป็นวัดที่มีชื่อเสียง และมีความสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี และมีสถาปัตยกรรม ที่งดงามและน่าสนใจ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ควรจะได้แวะมาเที่ยวชมและสักการะสิ่งศักดิ์ที่วัดแห่งนี้ นั่นคือ “พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ” พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์นี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 ได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ภายในเป็น ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะและสร้างพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์องค์ปัจจุบันครอบ องค์พระธาตุเดิมไว้

พระธาตุองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นเป็นองค์สีขาว ตัดกับลวดลายสีทองอย่างงดงามวิจิตรบรรจง ภายนอกเป็นภาพนูนต่ำที่องค์พระธาตุด้านนอก บอกเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับพระเจ้าสิบชาติ ด้านล่างรอบพระธาตุเป็นพุทธสาวกในบวรพุทธศาสนาส่วนฐานรองรับองค์พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ด้วยพญานาค ครุฑและ ยักษ์สำหรับกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้านประดิษฐานพระเจดีย์องค์เล็กไว้ทั้งสี่มุม ลวดลายเทพพนม เทวดาต่าง ๆ บนองค์พระธาตุเล็กนั้นก็มีความงดงาม ไม่แพ้กัน นอกจากนี้ด้านหลังของพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ มีพระวิหารภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูปที่งดงามหลายองค์ นักท่องเที่ยวสามารถแวะไปกราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล





แผนที่


วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว (วัดเรืองแสง)


วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว  หรือนิยมเรียกกันว่า วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่  อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง โดยจำลองสภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศ  บริเวณบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า  จุดเด่นของวัดคือ การได้มาชมภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ที่เป็นจิตรกรรมที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการมาชมและถ่ายภาพคือ ตั้งแต่เวลา 6.00.19.30 น. ซึ่งหากโชคดีก็จะได้เห็นดวงดาวมากมายเต็มท้องฟ้า อีกด้วย  แต่ภาพเรืองแสงนี้หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่เห็นเป็นสีเขียวชัดเจนเท่ากับภาพที่ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวบางท่านที่มาเก็บภาพความงดงามผ่านสายตาต้องเผื่อใจไว้เล็กน้อย

นอกจากความมหัศจรรย์ของพระอุโบสถแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์ซึ่งเป็นวิวลำน้ำโขง และบริเวณด้านหลังพระอุโบสถเป็นจุดชม วิวทิวทัศน์ของฝั่งประเทศลาวและมองเห็นด่านสากลช่องเม็กอย่างสวยงามรวมทั้งอ่างเก็บน้ำที่ อยู่บริเวณเชิงเขาคล้ายกับทะเลสาป  โดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์ตกดินเราเราจะได้เห็นพระอาทิตย์ดวงโตซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามมาก สำหรับต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง เป็นฝีมือการออกแบบของช่างคุณากร ปริญญาปุณโณ ผู้ลงมือติดโมเสกแต่ละชิ้นด้วยตัวเอง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้แห่งชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องอวตาร โดยใช้สารเรืองแสง หรือ สารฟลูออเรสเซนต์รอบต้น  คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซนต์จะรับแสงพระอาทิตย์ ในตอนกลางวัน พร้อมกับที่ศิลปกรรมชิ้นนี้ ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือหันข้างไปทางทิศตะวันตก ก็เลยเหมือนเป็นฉากกั้น พลังงาน ในช่วงเวลาตอนกลางวัน แล้วจะฉายแสงออกมาในตอนกลางคืน คือเป็นการคายพลังงานออกมา  ตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจาก วัดเชียงทอง ประเทศลาว เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า ทางเข้าเป็นต้นสาละ 

ส่วนตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว แต่มีความกว้างมากกว่า 1 เท่า และความยาวมากกว่า 2 เท่า เสาแต่ละต้นลง ลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า หัวใจหลักของการทำพุทธศิลป์ คือ การนำเสนอ งานศิลปะที่เกิดจากความสงบ ความเพียร ความอดทน และวิสัยทัศน์ งานแต่ละชิ้นต้องคิดจากความคิดอันวิจิตรและขบคิดมาก่อนทั้งสิ้น อย่างแนวคิดการจำลองให้วัดเป็นเขาพระสุเมรุ  ตรงกลางของพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของพระประธาน แต่เดิมที่คล้ายกับพระพุทธชินราช ในจังหวัดพิษณุโลก แต่มีการนำเพียงส่วนรัศมีออกไป เพื่อให้แลดูกลมกลืนกันยิ่งขึ้น พร้อมกับได้ทำฉากหลังเป็นต้นโพธิ์ โดยเบื้องบนติดด้วยแผ่นพระทอง

ส่วนการสร้างวัดนั้น ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสักเข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไท และได้ปักกลด ที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ต่อมาปี 2516ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่ให้เป็นวัดจากทางหน่วยทหารและทางราชการอ.พิบูลมังสาหาร ทางอำเภอจึงให้ตั้งชื่อวัดว่า วัดสิรินธรวราราม หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์บุญมากต้องกลับประเทศลาว ทิ้งให้วัดร้างหลายสิบปี จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม หลังจาก พระครูกมลละสังขารไปในปี 2549 พระครูปัญญาก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องานสร้างวัดต่อไป อย่างต้นกัลปพฤกษ์ เรืองแสงเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ส่วนพระอุโบสถยังมีการแต่งเติมอยู่เรื่อยๆ



แผนที่

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก ชาวอำเภอมหาชนะชัยมีความเชื่อเรื่องใช้ข้าวถวายเป็นพุทธบูชาอยู่แล้ว เป็นประเพณีที่เกิดจากการแพร่กระจายของการใช้ข้าวเป็นเครื่องบูชา ได้จัดประเพณีการแห่มาลัยขึ้นเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชน ปรับเปลี่ยนมาจนเป็นมาลัยที่ใช้แขวนเป็นเครื่องบูชานั้นได้เกิดกระบวนการสั่งสมประสมการและภูมิปัญญา ตลอดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมซึ่งมีคติในพิธีกรรม ที่มาที่แฝงเร้นในการจัดพิธีกรรมการแห่ข้าวดอก โดยจะมีชุมชนที่เข้าร่วมจัดทำเป็นมาลัยขนาดใหญ่เพื่อเป็นตัวแทนชุมชนเข้าร่วมการประกวด ชุมชนที่เข้าร่วมในการแห่มาลัยมากที่สุดคือ  หมู่  2  หมู่ 4 และหมู่ 8  ตำบลฟ้าหยาด  ในตำบลอื่นก็มีทำบ้างแต่ไม่มากนัก



พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้

พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้

พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้ (วัดอัครเทวดามิคาแอล)  ในช่วงวันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์  ของทุกปี) ที่โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จะจัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาวที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยการจัดพิธีดังกล่าวจัดขึ้นอย่างสมเกียรติของคู่บ่าวสาวและแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน มีขบวนแห่ขันหมาก พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณพิธีสมรสแบบคาทอลิก พิธีอวยพร  และการแสดงศิลปวัฒนธรรมเพื่อแสดงความยินดีกับคู่สมรส

ประเพณีบุญบั้งไฟ (Bang Fai Rocket Festival - Phaya Thaen Park)


ประเพณีบุญบั้งไฟ (Bang Fai Rocket Festival - Phaya Thaen Park)



มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถนโดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง เล่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆแต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณีบั้งไฟ ที่จัดทำมีหลายชนิด คือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 120 กิโลกรัมเมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกันในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา






วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ อยู่ที่บ้านหนองซ่งแย้ หมู่ 2 ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร  เป็นโบสถ์ไม้ ของคริสต์ศาสนาที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีอายุถึง 100 ปี โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ มีชื่อเต็มๆ ว่า  “วัดอัครเทวดามีคาแอล”  ที่มีโบสถ์ไม้หลัง ใหญ่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นเป็นสง่า ซึ่งทั้งหมดทำมาจากไม้เนื้อแข็ง ซึ่งชาวบ้านพากันรวบรวมไม้และลงมือก่อสร้างด้วยกัน โดยลงมือ สร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย  โดยใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็งเสาในแถว กลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคน ได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยก ต่างหากจากโบสถ์  จากพลังแห่งศรัทธาอันแรงกล้าของคริสต์ชน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโบสถ์ไม้ขนาดใหญ่ที่สุดนั้น ในปัจจุบัน โบสถ์แห่งนี้สามารถบรรจุคนได้มากกว่า 500 คน โบสถ์แห่งนี้เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ดูเรียบง่ายแต่มีความสงบและงดงาม

ภายในบริเวณวัด ยังมีเรือนไทยอยู่ข้างๆโบสถ์มีความสวยงดงานในปฏิมากรรมแบบไทยเราและล้วนสร้างจากไม้ทั้งหมด และตกแต่ง ต้นไม้สวยงาม ร่มรื่น และยังมีต้นไม้พูดได้ไว้เตือนสติสอนใจหากใครได้มาชมโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่นี่ แล้วละก็จะได้สัมผัสถึงศรัทธา อันแรงกล้าของ พระผู้เป็นเจ้าและชาวบ้านซ่งแย้ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโบสถ์คริสต์ไม้หลังใหญ่ที่สุด หลังนี้ขึ้นนับแต่อดีตกาล มากว่า 100 ปีเลยทีเดียว และถือได้ว่าเป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ และถือเป็นศาสนาสถานที่มีเอกลักษณ์ และมีความสำคัญ ถือเป็นสมบัติอันทรงคุณค่า  ที่นี่จะมีจัดกิจกรรมงานพิธีสมรสหมู่ตามแบบคาทอลิก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ (วันวาเลนไทน์) ของทุกๆปีด้วย โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมความสวยงามแปลกตาของโบสถ์แห่งนี้ ได้ทุกวันไม่มีวันหยุด

ประวัติความเป็นมาโบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

เริ่มจากเมื่อปี พ.ศ. 2451หมู่บ้านหนองซ่งแย้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กลางดงทึบ มีชาวบ้าน 5 ครอบครัวได้อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ ต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นครอบครัวผีปอบและถูกรุมทำร้ายและถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้าน ทั้ง 5 ครอบครัวเดือดร้อนอับจนหนทาง จึงเดินทางไปหาบาทหลวงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า เดชาแนลและ ออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ให้มา ช่วยขับไล่ผีปอบที่สิงอยู่กับตนและครอบครัว จนเหตุการณ์สงบลง ทั้ง 5 ครอบครัวจึงเข้ารีตเป็นคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิค  และในต่อมาหมู่บ้านแห่งนี้จึงกลายเป็นหมู่บ้านประชาคมชาวคริสต์ในปี พ.ศ. 2452  บาทหลวงทั้ง 2   จึงได้สร้างวัดหนองซ่งแย้ขึ้นมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาลาตินว่า “วัดอัครเทวดามิคาแอล”  ซึ่งเป็นชื่อของนักบุญคนสำคัญ โดยมีบาทหลวงเดชาแนลเป็น อธิการโบสถ์คนแรก

การเดินทางโบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้

จากตัวจังหวัดยโสธใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 อยู่เลย อำเเภอกุดชุม ซึ่งเป็นแหล่งขายเนื้อวัวและลูกชิ้นที่มีชื่อเสียง ไปประมาณ 7-8 กม. จะเห็นป้ายทางซ้ายมือ และซุ้มประตูทางเข้าอยู่ริมถนน เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 600เมตร ก็จะถึงโบสถ์คริสต์แห่งนี้





แผนที่