แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ยโสธร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ยโสธร แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก

ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก ชาวอำเภอมหาชนะชัยมีความเชื่อเรื่องใช้ข้าวถวายเป็นพุทธบูชาอยู่แล้ว เป็นประเพณีที่เกิดจากการแพร่กระจายของการใช้ข้าวเป็นเครื่องบูชา ได้จัดประเพณีการแห่มาลัยขึ้นเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชน ปรับเปลี่ยนมาจนเป็นมาลัยที่ใช้แขวนเป็นเครื่องบูชานั้นได้เกิดกระบวนการสั่งสมประสมการและภูมิปัญญา ตลอดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมซึ่งมีคติในพิธีกรรม ที่มาที่แฝงเร้นในการจัดพิธีกรรมการแห่ข้าวดอก โดยจะมีชุมชนที่เข้าร่วมจัดทำเป็นมาลัยขนาดใหญ่เพื่อเป็นตัวแทนชุมชนเข้าร่วมการประกวด ชุมชนที่เข้าร่วมในการแห่มาลัยมากที่สุดคือ  หมู่  2  หมู่ 4 และหมู่ 8  ตำบลฟ้าหยาด  ในตำบลอื่นก็มีทำบ้างแต่ไม่มากนัก



พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้

พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้

พิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกที่โบสถคริสต์บ้านซ่งแย้ (วัดอัครเทวดามิคาแอล)  ในช่วงวันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์  ของทุกปี) ที่โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จะจัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาวที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยการจัดพิธีดังกล่าวจัดขึ้นอย่างสมเกียรติของคู่บ่าวสาวและแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน มีขบวนแห่ขันหมาก พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณพิธีสมรสแบบคาทอลิก พิธีอวยพร  และการแสดงศิลปวัฒนธรรมเพื่อแสดงความยินดีกับคู่สมรส

ประเพณีบุญบั้งไฟ (Bang Fai Rocket Festival - Phaya Thaen Park)


ประเพณีบุญบั้งไฟ (Bang Fai Rocket Festival - Phaya Thaen Park)



มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถนโดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง เล่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆแต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณีบั้งไฟ ที่จัดทำมีหลายชนิด คือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 120 กิโลกรัมเมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกันในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา






วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก แลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่โดดเด่นแปลกตาของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน อำเภอเมือง บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สอดแทรกตำนานเรื่องเล่าพื้นเมืองของชาวอีสาน เกี่ยวกับตำนาน พญาคางคกและประเพณีบุญบั้งไฟอันโด่งดัง    ตัวอาคารถูกออกแบบให้เป็นรูปคางคกขนาดยักษ์เป็นอาคารสูง 5 ชั้น หรือประมาณ 19 เมตร พื้นที่ประมาณ 835 ตารางเมตร และนิทรรศการภายในจะบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟ โดยจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเมืองไทยที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด และมีการรวบรวมของดีทางด้านเกษตรกรรม ของเมืองยโสธรไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของจังหวัดยโสธร
นอกจากนี้ข้างพิพิธภัณฑ์มีประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟอันอ่อนช้อยและงดงาม สวนสาธารณะพญาแถนที่บรรยากาศร่มรื่นลมพัด เย็นสบายเหมาะสำหรับมาเดินเล่นพักผ่อนในยามเย็น  รวมถึงพิพิธภัณฑ์พญานาคขนาดใหญ่ ที่เชื่อมต่อกับ สร้างความตื่นตาตื่นใจ ให้แก่ผู้มาชม ภายในมีภาพถ่ายสามมิติสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านให้โพสต์ท่าถ่ายภาพอีกด้วย

ตำนานพญาคันคาก พญานาค พญาแถน

พญาคันคาก พญานาค พญาแถน คือ ตำนานความเชื่อของชาวอีสาน และอีกตำนานหนึ่งก็จะมีตำนาน “ผาแดงนางไอ่” ชาวอีสานจะ ทำบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ถึงปลายเดือนห้าย่างเดือนหก ชาวบ้านก็จะแสดงออกถึงความสามัคคี ร่วมกันทำบั้งไฟจุดขึ้นไป แจ้งพญาแถนเพื่อให้บันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล เพื่อชาวโลกมนุษย์จะใช้น้ำฝนทำนาเป็นไปตามตำนานเล่าสืบทอดกันมา พญาคางคก พญานาค รวมไพร่พลยกทัพขึ้นไปรบชนะพญาแถน และได้ทำสัญญาสงบศึก หากถึงฤดูกาลทำนา โลกมนุษย์จะส่ง สัญญาน แจ้งพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้า และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโลกมนุษย์ก็จะใช้เสียงสนูจากว่าวแจ้งให้พญาแถนทราบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้าน

การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก


จากตัวเมืองยโสธรหน้าสวนธารณะเมืองแถน บนถนนแจ้งสนิท ให้ขับรถตรงไปประมาณ 400  เมตร เลี้ยวขวาตรงสี่แยกถนนห้า ธันวาคม จากนั้นให้ตรงไปผ่านเรือนจำยโสธร ประมาณ 700 เมตร จะถึงสามแยกจะถึงสามแยก จากนั้นเลี้ยวขวาตรงสามแยก และขับรถตรงไปอีก 200 เมตร ให้เลี้ยวขวาอีกครั้ง ตรงไปอีก 150 เมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หากใครไม่คุ้นเคยเส้นทาง อาจใช้ google maps นำทาง




แผนที่่


ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า

ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า 

บ้านสิงห์ท่า  ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นย่านการค้าตั้งแต่สมัยโบราณและได้เจริญขึ้นเมื่อสมัยฝรั่งเศสเข้ามามี อิทธิพลมาก ในภูมิภาคนี้ในช่วงนั้นเองผู้ที่มีฐานะดี มีการนำเข้าช่างฝีมือจากเวียดนามจำนวนมากเข้ามาสร้างบ้านเรือน ทำให้บ้านเรือนมีรูปแบบ ศิลปกรรมแบบจีนผสมยุโรปที่งดงาม ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นบนสองข้างทาง ถนนศรีสุนทร นครทุม อุทัยรามฤทธิ์ และวิทยะธำรง บางแห่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก บอกถึงบรรยากาศของความเป็นอดีต ขณะที่อีกหลายแห่งถูกปล่อยให้รกร้าง ขาดคนอาศัย สร้างเสน่ห์ให้บ้านสิงห์ท่าสวยงามมาจนทุกวันนี้




แผนที่


ศาลเจ้าพ่อหลัก เมืองจังหวัดยโสธร

ศาลเจ้าพ่อหลัก


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยโสธร ตั้งอยู่ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในอดีตของเมืองยโสธร ศาลหลักเมืองแห่งนี้ เป็นที่เลื่อมใสและเคารพนับถือ ของพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีนชาวยโสธรที่อาศัยอยู่ในย่านการค้าแห่งนี้  มีความโดดเด่นในเรื่องของ สถาปัตยกรรม โดยผสมผสานศิลปะของ 3 วัฒนธรรม คือ จีน ไทย ลาว โดยตัวอาคารก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน มีภาพเขียน ฝาผนังหินขัดเป็นลวดลายจีน และมีรูปปั้นมังกรขนาดใหญ่ 2 ตัว อยู่หน้าทางเข้า และมีแท่นบูชาฟ้าดินตามความเชื่อของชาวจีน ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของตัวอาคาร ส่วนหลังคาของอาคารเป็นทรงจั่ว มีช่อฟ้า ใบระกา แบบสถาปัตยกรรมไทย และยอดอาคารมีพระธาตุ แบบสถาปัตยกรรมลาวประดิษฐานอยู่  นอกจาก ความพิเศษของสถาปัตยกรรมแล้ว สิ่งที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ยโสธร มีเสาหลักเมืองถึง 3 เสา  ที่เดียวในประเทศไทย เสาต้นใหญ่ตรงกลางคือเสาหลักเมือง ส่วนเสาที่อยู่ซ้ายขวา คือ ที่สิงสถิตย์ของผี พระละงุมและผีพระละงำ ผู้ปกปักษ์รักษาหลักเมืองแห่งนี้  โดยชาวเมืองยโสธร ได้จัดให้มีการสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองทุกปี โดยมี พิธีสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง และทำพิธีไปส่งเจ้าท่าเจ้าทุ่งหรือเจ้าโต่งทุกๆ ปี มีการแสดงมหรสภ และอุปรากรจีน โดยพิธีสมโภช จะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน และมีพิธีสรงน้ำทุกปีในช่วงเดือน 5 ตามที่ทางเทศบาลกำหนดตลอดมาจนปัจจุบันนี้



แผนที่